ผู้บริหาร อบต.ห้วยโป่ง





ประวัติความเป็นมา
เมื่อประมาณ พ.ศ. 2434 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยประชาชนชาวบ้านเขาพุคา นําโดยหมื่นต้น (ต้นตระกูลน้อยเจริญ) อพยพหนีโรคระบาดจากบ้านพุคามาจัดตั้งชุมชนขึ้น ที่หมู่บ้านพุคาขณะนั้นตั้งอยู่ระหว่างเขาสระพานนาคกับเขาพุคา ปัจจุบันเป็นบ้านร้างยังมีโบราณสถาน คือ บริเวณโบสถ์เก่าปรากฏอยู่ หลักฐานวัตถุพยาน ได้แก่ ลูกนิมิต 4 ลูก เป็นหินอยู่ที่วัดเขาวงพระจันทร์ประชาชนที่อพยพหนีโรคระบาดในครั้งนั้นได้แยกย้ายกันไปตั้งถิ่นฐาน เช่น บ้านโคก บ้านสระตาแวว และบ้านหนองน้ำทิพย์ เป็นต้น หมู่บ้านเหล่านั้นยังอาศัยนามเดิมขึ้นกับตําบลพุคา อําเภอบ้านหมี่ ส่วนบ้านห้วยโป่ง ได้แยกเป็นตำบลห้วยโป่ง อําเภอโคกสําโรง เหตุที่ชื่อห้วยโป่ง เพราะที่ตั้งหมู่บ้านอยู่ติดสระห้วยโป่งและโดยที่บริเวณบ่อน้ำโบราณของหมู่บ้านมีดินโป่ง (ดินที่มีเกลือแร่) สัตว์ป่า เช่น เก้ง กวาง ช้าง ฯลฯ มากินดินโป่งจนเป็นหลุมลึก มีผีดุ ต้องตั้งศาลกราบไหว้เป็นศาลประจำหมู่บ้าน ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ลำน้ำห้วยโป่งมีต้นน้ำจากเทือกเขาวงพระจันทร์และเขาพุคาไหลมารวมกัน ต้นน้ำขณะนี้ได้เป็นอ่างเก็บน้ำห้วยโป่ง เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กกักเก็บน้ำไว้ให้ชาวบ้านห้วยโป่งได้ใช้ในฤดูแล้งในปัจจุบัน
- ที่ตั้งหมู่บ้านอยู่ติดสระห้วยโป่งและโดยที่บริเวณบ่อน้ำโบราณของหมู่บ้านมีดินโป่ง (ดินที่มีเกลือแร่) สัตว์ป่า เช่น เก้ง กวาง ช้าง ฯลฯ มากินดินโป่งจนเป็นหลุมลึก
โครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบล

โครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย
นายก อบต. และสมาชิกสภา อบต. มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งนั้นตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
• องค์ประกอบของ อบต. ในการปฏิบัติงาน ดังนี้
(1) สภา อบต. : ฝ่ายนิติบัญญัติ
(2) นายก อบต . : ฝ่ายบริหาร
(3) พนักงานส่วนตำบล : ฝ่ายราชการประจำ
(4) ประชาชนในเขต อบต. : เป็นศูนย์กลางการพัฒนา และมีส่วนรวมดำเนินการ
(5) ฝ่ายกำกับดูแล อบต. : นายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด
ทั้ง 5 ฝ่ายต้อง มีส่วนรวมในการดำเนินงานตามกรอบอำนาจหน้าที่อย่างสมดุล อบต. จึงพัฒนาอย่างยั่งยืนและเข้มแข็ง